เมื่อวันที่ 14
ส.ค.58
ที่ห้องพิงกัน
โรงแรมภูงา อ.เมืองพังงา นางอำพัน รุ่งแจ้ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา
เป็นประธานเปิดการเสวนาเรื่อง “เมืองพังงา ชวนเล่าขาน ตำนานแห่งพัสตราภรณ์”
โดยมีผู้เข้าร่วมรับฟังการเสวนา เช่น
นายกเหล่ากาชาดจังหวัดพังงาและคณะหัวหน้าส่วนราชการ คณะครูอาจารย์ แม่บ้านมหาดไทย
คณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมจังหวัดพังงา โดยมีอาจารย์จรินทร์
นีรนาทวโรดมและคณะเป็นวิทยากร ซึ่งผู้เข้าร่วมงานต่างแต่งชุดไทยยุคต่าง ๆ
โดยเฉพาะชุดบาบ๋า-ย่าหยา ซึ่งเป็นชุดพื้นถิ่นเดิมของพังงาอย่างสวยงาม
นางอุทัย
พัฒนพิชัย วัฒนธรรมจังหวัดพังงา กล่าวว่า จังหวัดพังงามีนโยบายส่งเสริม
สนับสนุนการแต่งกายด้วยผ้าไทยพื้นถิ่น
เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนนิยมใช้ผ้าไทยและผลิตภัณฑ์จากผ้าไทยให้มากขึ้น
อันจะมีผลต่อรายได้ของชุมชนในท้องถิ่น และนำมาสู่การตระหนัก
รับรู้และความภาคภูมิใจใน "ผ้าไทย" อันเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
จึงขอเชิญชวนประชาชนชาวจังหวัดพังงา พร้อมใจกันแต่งกายด้วยชุดพื้นถิ่น "บาบ๋าย่าหยา" ทุกวันพฤหัสบดี หรือ งานรัฐพิธี
งานพิธีการและในโอกาสสำคัญแทนการแต่งกายด้วยชุดสากล
สำหรับชุดบาบ๋า
ชุดย่าหยา เกิดขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 1 เนื่องจากในสมัยนั้น
มีการอพยพของชาวจีนมายังประเทศไทยจำนวนมาก
เพราะประเทศจีนในช่วงนั้นมีความไม่สงบทางการเมือง และภาวะสงคราม
ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่อพยพมานั้นจะเป็นชายหนุ่มและเด็กหนุ่มที่ยังไม่มีครอบครัว
โดยบางคนก็ได้มาสร้างครอบครัวใหม่กับคนท้องถิ่น ทำให้เกิดคำว่า "บาบ๋า"
คือ ลูกชาวจีนที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษชาวจีนและคนท้องถิ่น การแต่งกายชุด
"บาบ๋า ย่าหยา" เป็นการผสมผสานวัฒนธรรมของหลายชนชาติออกมาอย่างสวยงาม
ซึ่งปัจจุบันชาวพังงายังคงรักษาวัฒนธรรมการแต่งกายแบบ ชุดบาบ๋า ชุดย่าหยา
ไว้โดยปรับเปลี่ยนรายละเอียดให้เหมาะสมกับยุคสมัย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น